Archives พฤศจิกายน 2020

การลดเสียงในห้องเครื่องแดมป์

         3 วิธีลดเสียงรบกวนภายในห้องโดยสาร

1.พ่นซุ้มล้อ

     ปัจจุบันมีสเปรย์สำหรับพ่นใต้ซุ้มล้อ (Rubberized Undercoating) วิธีทำก็ง่ายมาก เพียงพ่นลงไปยังบริเวณใต้ซุ้มล้อทั้ง 4 ข้าง แล้วปล่อยให้แห้งประมาณ 30 นาที โดยวัสดุที่พ่นจะมีลักษณะเป็นยางเคลือบสีดำ ที่สามารถป้องกันเสียงจากล้อเข้ามายังโดยสารได้ในระดับหนึ่ง โดยสเปรย์ 1 กระป๋อง จะสามารถใช้ได้ 1 ซุ้มล้อ ราคาจำหน่ายอยู่ที่ประมาณ 200-300 บาทเท่านั้น

100

2.เปลี่ยน/เสริมยางขอบประตู

     ขอบประตูเป็นอีกจุดสำคัญที่ทำให้เสียงภายนอกสามารถเล็ดลอดเข้ามายังห้องโดยสารได้ หากใช้รถที่มีอายุอานามพอสมควร เป็นไปได้ว่ายางขอบประตูเริ่มเสื่อมสภาพ จนทำให้เสียงเข้ามายังห้องโดยสารได้มากขึ้น ยางขอบประตูปัจจุบันมีให้เลือกทั้งของแท้ ของเทียบเทียมมากมาย ทางที่ดีควรเลือกที่มีลักษณะเหมือนกับของเดิม เช่น ของเดิมเป็นแบบนวมยางชั้นเดียว ก็ควรเลือกของใหม่ที่เป็นนวมยางชั้นเดียวเช่นกัน จะทำให้ไม่มีปัญหาปิดประตูยาก

     นอกจากนั้น หากยางขอบประตูยังมีสภาพใหม่อยู่ แต่กลับมีเสียงรบกวนเข้ามาค่อนข้างชัด ก็สามารถเลือกติดตั้งยางกันเสียงเพิ่มเติมได้ ซึ่งจะเป็นการติดคนละตำแหน่งกับยางขอบประตูเดิม ก็จะช่วยกรองเสียงรบกวนเข้ามาได้อีกชั้นหนึ่ง ราคาจำหน่ายก็มีหลากหลาย ส่วนใหญ่มักอยู่ราว 2-3 พันบาท

102

3.แดมป์พื้น/ประตู

     วิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก ก็คือ การแดมป์รอบคัน โดยใช้วัสดุซับเสียง (Sound Deadening) ซึ่งการติดตั้งควรเลือกช่างที่ไว้ใจได้ เพราะการแดมป์จำเป็นต้องรื้อเบาะนั่งและพรมภายในรถออก เพื่อติดตั้งแผ่นซับเสียงลงบนพื้นตัวรถ, ผนังซุ้มล้อ และผนังกั้นระหว่างห้องเครื่องยนต์ จึงควรเลือกช่างที่มีประสบการณ์ในการถอด-ประกอบเป็นอย่างดี

     นอกจากนั้น การแดมป์ประตูยังเป็นอีกหนึ่งอ็อพชั่นที่หลายคนเลือกทำเช่นกัน เพื่อลดเสียงรบกวนรอบข้างให้ลดลงน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งราคาค่าติดตั้งก็ป้วนเปี้ยนตั้งแต่หมื่นต้น ไปจนถึงหลายหมื่นบาท ขึ้นอยู่กับวัสดุซับเสียงและร้านติดตั้งด้วย

     เหล่านี้เป็นวิธีที่ช่วยลดเสียงรบกวนภายในห้องโดยสารลงได้ แต่อย่างไรก็ดี ผลลัพธ์ที่ได้ก็ขึ้นอยู่กับรุ่นรถและวัสดุที่ใช้ ซึ่งทำให้การซับเสียงแตกต่างกันไปด้วย

เดซิเบลในชีวิตประจำวัน

  • ระดับเบามาก (0-20 dB) เช่น เสียงหายใจ เสียงกระซิบ นั่นแปลว่าเสียงที่มนุษย์เริ่มได้ยินก็คือตั้งแต่ 0 dB เลย
  • ระดับเบา (30-40 dB)ช่น เสียงในห้องสมุด เสียงห้องนอนตอนกลางคืน
  • ระดับปานกลาง (50-60 dB) เช่น  เสียงฝนตกเบาๆ เสียงพูดคุยทั่วไป
  • ระดับดัง (70-80 dB) เช่น เสียงเครื่องดูดฝุ่น เสียงนกหวีด และไม่ควรฟังเสียงที่ดังตั้งแต่ 85 dB ขึ้นไปเป็นเวลานานๆ เพราะอาจสูญเสียการได้ยิน
  • ระดับดังมาก (90-100 dB) เช่น เสียงเครื่องตัดหญ้า เสียงโรงงาน
  • ระดับดังสุดๆ (110-140 dB) เช่น เสียงเพลงแดนซ์ในผับ เสียงคอนเสิร์ตร็อค เสียงเครื่องบินเจ็ต โดยไม่ควรได้รับเสียงตั้งแต่ 100-120 dB เกิน 1-2 ชม. และเมื่อเสียงดังถึง 130 dB จะเริ่มมีอาการปวดหู

เมื่อทราบกันแล้ว ใครที่รู้ตัวว่าอยู่ในสถานการณ์ที่มีเสียงดังบ่อยๆ เมื่อมีโอกาสก็ควรหลีกเลี่ยงนะ โดยสามารถดำเนินการทางกฎหมายได้ ในกรณีที่มีการใช้เสียงดังบริเวณใกล้เคียง ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 (2540) ซึ่งกำหนดมาตรฐานความดังเสียงทั่วไปสูงสุดไม่เกิน 115 dB

นอกจากนี้ บริเวณที่มีการก่อเสียงดังรบกวน เช่น

  • การตั้งวงเหล้า
  • จัดปาร์ตี้
  • เปิดเพลงเสียงดัง
  • ข้างบ้านตะโกนไฟไหม้ แต่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง
  • สุนัขเห่า
  • เปิดทีวีเสียงดัง
  • เสียงคนทะเลาะกัน
  • ขนของเสียงดัง
  • เสียงก่อสร้างต่อเติมบ้าน

ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาม.370 ผู้ใดส่งเสียง ทำให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึง โดยไม่มีเหตุอันสมควร จนทำให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

ส่วนเสียงสุนัขเห่า อาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.397 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท

 

ประเภทของเสียง

แบ่งตามลักษณะการเกิดเสียงได้ 3 ลักษณะ

1. เสียงดังแบบต่อเนื่อง (continuous Noise) เป็นเสียงดังที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ เสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (steady-state Noise) และเสียงดีงต่อเนื่องที่ไม่คงที่  (Non steady state Noise)

1.1 เสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (Steady-state Noise) เป็นลักษณะเสียงดังต่อเนื่องที่มีระดับเสียง เปลี่ยนแปลง ไม่เกิน 3 เดซิเบล เช่น เสียงจากเครื่องทอผ้า เครื่องปั่นด้าย เสียงพัดลม เป็นต้u

1.2 เสียงดังต่อเนื่องที่ไม่คงที่  (Non-steady state Noise)  เป็นลักษณะเสียงดังต่อเนื่องที่มี ระดับเลียงเปลี่ยนแปลงเกินกว่า  10 เดชิเบล  เช่น เสียงจากเลื่อยวงเดือน    เครื่องเจียร    เป็นต้น

2. เสียงดังเป็นช่วงๆ (lntermittent Noise) เป็นเสียงที่ดังไม่ต่อเนีอง มีความเงียบหรีอเบากว่าเป็นระยะๆลลับไปมา เช่น เสียงเครื่องปั๊ม/อัดลม เสียงจราจร เสียงเครื่องบินที่บินผ่านไปมา เป็นต้น

3. เสียงดังกระทบ หรือ กระแทก (lmpact or lmpulse Noise) เป็นเสียงที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดอย่างรวดเร็ว ในเวลาน้อยกว่า 1 วินาที มีการเปลี่ยนแปลงของเสียงมากกว่า 40 เดชิเบล เช่น เสียงการตอกเสาเข็ ม การปั๊มชิ้นงาน การทุบเคาะอย่างแรง เป็นต้น

ประเภทของรถบรรทุก

หลายๆ ท่านที่อยู่ในวงการขนส่งอาจจะเคยพบรถบรรทุกมาหลายประเภท แต่อาจจะยังไม่เคยทราบถึงประเภทรถบรรทุกที่กฎหมายกำหนดดังนั้น  มีเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับประเภทของรถบรรทุกมาฝากกันค่ะ

ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้ให้คำนิยามของรถบรรทุกไว้ว่า รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของเพื่อค่าสินจ้างหรือเพื่อธุรกิจการค้าของตนเองโดยจะต้องมีน้ำหนักรวมไม่เกิน 1600 กิโลกรัม ซึ่งได้กำหนดลักษณะการใช้รถในการขนสิ่งของหรือสัตว์ โดยแยกออก ทั้งหมด 9 ลักษณะต่อไปนี้ 🚍

รถกระบะบรรทุก

– ซึ่งส่วนที่ใช้จะมีลักษณะเป็นกระบะ จะมีหลังคาหรือไม่มีก็ได้ หรือจะมีเครื่องทุ่นแรง ไว้เพื่อช่วยสำหรับยกสิ่งของได้ รวมถึงรถที่ใช้ในการบรรทุกไม่มีด้านข้างหรือด้านท้าย

✅ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 2 ( บ.2 , ท.2 ) สามารถขับรถบรรทุก สิบล้อ,หกล้อ,รถบัส,รถเมล์,รถตู้,รถยนต์

รถตู้บรรทุก

– โดยรถที่ใช้ในการบรรทุกจะมีลักษณะเป็นตู้ทึบ และมีหลังคาและตัวถังที่บรรทุกระหว่างผู้โดยสารและผู้ขับเป็นตอนเดียว โดยจะมีประตูบานใหญ่ไว้สำหรับให้ผู้โดยสารขึ้นลง หรือจะเลือกเปิดท้ายก็ได้

✅ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 2 ( บ.2 , ท.2 ) สามารถขับรถบรรทุก สิบล้อ,หกล้อ,รถบัส,รถเมล์,รถตู้,รถยนต์

รถบรรทุกของเหลว

– เป็นรถที่ใช้ในการบรรทุกของเหลวตามความเหมาะสมและจะต้องเป็นประเภทที่มีความปลอดภัยสูง

✅ ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 4 ( บ.4 , ท.4 ) สามารถขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งวัตถุอันตราย

รถบรรทุกวัสดุอันตราย

– เป็นรถที่ใช้ในการบรรทุกเฉพาะเพื่อใช้ในการบรรทุกวัสดุอันตราย ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง สารเคมี วัตถุระเบิด วัสดุไวไฟ ซึ่งจะมีลักษณะเฉพาะและมีป้ายเตือนอย่างชัดเจน

✅ ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 4 สามารถขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งวัตถุอันตราย

รถบรรทุกเฉพาะกิจ

– ซึ่งเป็นรถที่ใช้ในการบรรทุกที่มีลักษณะพิเศษ เพื่อใช้ในการเฉพาะ เช่น รถบรรทุกเครื่องดื่ม รถผสมซีเมนต์ รถขยะมูลฝอย รถราดยาง หรือรถเครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ

✅ ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 4 ( บ.4 , ท.4 ) สามารถขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งวัตถุอันตราย

รถพ่วง

– เป็นรถที่ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง จึงต้องอาศัยรถอื่นลากจูงโดยจะมีโครงรถที่มีเพลาล้อที่สมบูรณ์ในตัวเอง

✅ ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 3 ( บ.3 , ท.3 ) สามารถขับรถสิบล้อพ่วง,รถหัวลาก

รถกึ่งพ่วง

– เป็นรถที่ไม่มีแรงขับเคลื่อนในตัวเอง จึงต้องใช้หัวรถลาก โดยน้ำหนักของรถบางส่วนจะต้องเฉลี่ยลงบนเพลาล้อของคันลากจูง

✅ ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 3 ( บ.3 , ท.3 ) สามารถขับรถสิบล้อพ่วง,รถหัวลาก

รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาง

– เป็นรถที่ไว้ใช้ในการขนสิ่งของที่ยาว โดยจะมีโครงโลหะที่สามารถปรับตัวได้ตามช่วงล้อลากจูง

✅ ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 3 ( บ.3 , ท.3 ) สามารถขับรถสิบล้อพ่วง,รถหัวลาก

รถลากจูง

– เป็นรถที่เป็นลักษณะสำหรับใช้ลากรถพ่วง รถกึ่งพ่วง เพราะรถเหล่านั้นจะไม่สามารถที่ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองจึงต้องอาศัยรถประเภทนี้ในการลากจูง

✅ ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 2 ( บ.2 , ท.2 ) สามารถขับรถบรรทุก สิบล้อ,หกล้อ,รถบัส,รถเมล์,รถตู้,รถยนต์