Archives ตุลาคม 2020

ท่าบริหารร่างกายง่วงตอนขับรถ

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ประชาชนนิยมเดินทางกลับภูมิลำเนาหรือไปเที่ยวต่างจังหวัด อาจมีระยะทางไกลและใช้เวลาในการขับรถนานเนื่องจากมีผู้เดินทางจำนวนมาก เพื่อความปลอดภัย ก่อนขับรถทางไกลทุกครั้งผู้ขับจึงควรพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง เตรียมผ้าเย็นเวลาง่วงและสวมแว่นตากันแดดขณะขับรถ

ที่สำคัญควรตรวจสภาพของรถยนต์ให้พร้อมใช้งานปรับการนั่งขับรถให้ถูกต้อง โดยเลื่อนเบาะที่นั่งให้อยู่ในระดับเหมาะสมกับตนเอง หลังชิดพนักพิง ไม่นั่งห่างหรือชิดพวงมาลัยมากเกินไปเพราะจะทำให้หลังโค้ง พิงพนักไม่ได้ หรือพิงได้แต่เวลาขับต้องเหยียดแขนและเข่ามากขึ้น เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดหลัง ซึ่งหากปวดหลังเป็นเวลานานและไม่มีการดูแลอย่างถูกวิธี อาจทำให้เกิดการปวดหลังถาวรได้และควรคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยขณะขับรถทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร

ทั้งนี้ ระหว่างเดินทาง ผู้ขับรถยนต์สามารถลดอาการเมื่อยล้าได้แม้อยู่ในรถ ขณะที่รถหยุดนิ่ง หรือในช่วงรถติด ด้วยการบริหารร่างกายง่าย ๆ เช่น ท่ายืดเหยียดกล้ามเนื้อคอ ให้เอียงคอลงมาด้านข้าง เข้าหาหัวไหล่ ให้ฝั่งตรงข้ามรู้สึกตึง ทำค้างไว้ประมาณ 15 วินาที จากนั้นสลับปฏิบัติด้านตรงข้าม ท่ายืดเหยียดกล้ามเนื้อคอด้านหลัง ให้ค่อย ๆ ก้มศีรษะเข้าหาลำตัวจนรู้สึกตึงบริเวณลำคอด้านหลัง ลำตัวตรง ค้างไว้ประมาณ 15 วินาที

 

ท่ายืดไหล่ ทำได้โดยนั่งยืดตัว แล้วบีบไหล่ยกขึ้นไปหาใบหู ค้างไว้ นับ 1-2 แล้วเอาลง จากนั้นทำซ้ำ 5 ครั้ง จะรู้สึกกระชุ่มกระชวยขึ้น ท่าบิดตัว ทำได้โดยนั่งยืดตัวตรงขึ้น มือจับที่ขอบเบาะแล้วบิดตัวไปข้างใดข้างหนึ่งค้างไว้ นับ 1-5 จากนั้นสลับปฏิบัติอีกข้าง ทำประมาณ 5 ครั้ง และท่าบริหารเท้า ทำได้โดยนั่งเหยียดขาออกไปด้านหน้า ยกเท้าให้ลอยขึ้นพ้นพื้น เหยียดปลายเท้าให้สุด จากนั้นกระดกปลายเท้าขึ้น-ลง ทำประมาณ 5 ครั้ง แล้วสลับข้างปฏิบัติอีกข้าง จะช่วยคลายเมื่อยได้” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

ขับรถบรรทุกต้องเตรียมตัวอย่างไร

จจุบันการดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่มักมีเรื่องของการขนส่งเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางถนน ทางทะเล หรือทางอากาศ ทุกรูปแบบของการขนส่งต้องมีความรู้และความชำนาญเฉพาะทาง ซึ่งการขนส่งทางถนนนั้นนับได้ว่าเป็นการขนส่งที่ผู้ประกอบการนิยมใช้มากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีการขนส่งที่สะดวก รวดเร็ว สามารถขนส่งได้ปริมาณมาก และยังครอบคลุมพื้นที่ในการให้บริการอีกด้วย มีทั้งรถกระบะ 4 ล้อ, รถบรรทุก 6 ล้อ, รถบรรทุก 10 ล้อ และรถหัวลาก ซึ่งในวันนี้เราจะพูดถึงการขับรถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ว่าควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

ข้อควรรู้ก่อนวิ่งรถบรรทุก

1. ต้องมีใบขับขี่ประเภท 2 (ใบอนุญาตขับขี่ที่สามารถขับรถสาธารณะได้) ซึ่งใบขับขี่ประเภทนี้ ถูกแบ่งเป็น 2 ชนิด
1.1ใบอนุญาตขับรถทุกประเภท บ.2 คือ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภทส่วนบุคคล คือ การอนุญาตให้สามารถขับขี่เพื่อขนส่งส่วนบุคคล 1.2 ใบอนุญาตขับรถทุกประเภท ท.2 คือ ใบอนุญาตประเภทให้สามารถขับขี่เพื่อขนส่งได้ทุกประเภท ทั้งใช้สำหรับการขับขี่ขนส่งเพื่อการค้า หรือ ธุรกิจส่วนตัว  และใช้ขนส่งเพื่อรับจ้าง หรือประกอบธุรกิจการขนส่งได้  เช่น การขนส่งคน การขนส่งสิ่งของ เป็นต้น
– รถบรรทุกสาธารณะ (ท.2) เช่น รถบัส, รถบรรทุก 6-10 ล้อ ป้ายทะเบียนพื้นสีเหลือง
– รถบรรทุกส่วนบุคคล (บ.2) เช่น รถบัส, รถบรรทุก 6-10 ล้อ ป้ายทะเบียนพื้นสีขาว

2. ขับรถบรรทุกต้องรู้เรื่องการจำกัดเวลาและพื้นที่วิ่งของรถบรรทุก จากสภาพการจราจรที่ติดขัดในพื้นที่กรุงเทพฯทำให้ต้องมีกฎหมายกำหนดห้ามรถบรรทุกวิ่งพื้นที่ชั้นใน
พื้นราบ
– ห้ามรถบรรทุกก๊าซ วัตถุไวไฟ ตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไปและรถพ่วงเดินรถในเขตกรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 06.00-22.00 น. ทุกวัน เว้นวันอาทิตย์
– รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งในเวลา 06.00 – 09.00 น. และ เวลา 16.00-20.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ
– รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งในเวลา 06.00 – 10.00 น. และ เวลา 15.00-21.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ
– ห้ามรถบรรทุกอื่น เช่น บรรทุกซุง เสาเข็ม เดินรถ เวลา 06.00-21.00 น.
ทางด่วน
– รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ห้ามเวลา 06.00-09.00 น. และ 16.00-20.00 น.
– รถบรรทุก 10ล้อขึ้นไป ห้ามเวลา 06.00-09.00 น. และ 15.00-21.00 น.
– รถบรรทุกสารเคมี ห้ามเวลา 06.00-10.00 น. และ 15.00-22.00 น.

3. รถบรรทุกมีการจำกัดน้ำหนักในการวิ่งทางราบและบนทางด่วน ตามประกาศกำหนดพิกัดน้ำหนักรถบรรทุกที่เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2557 ได้กำหนดน้ำหนักของรถบรรทุกรวมน้ำหนักรถไว้ว่า
– รถ 6 ล้อต้องบรรทุกน้ำหนักไม่เกิน 15 ตัน
– รถ 10 ล้อ ต้องบรรทุกน้ำหนักไม่เกิน 25 ตัน
ทั้งนี้ระหว่างทางจะมีจุดชั่งน้ำหนักรถให้บริการอยู่ หากรถบรรทุกน้ำหนักเกิน หรือฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (อ้างอิงจาก สำนักงานควบคุมน้ำหนักยานพาหนะ)

4. ผ้าใบคลุมรถต้องมีความแน่นหนา เพราะสภาพอากาศอาจเปลี่ยนแปลงได้ระหว่างทาง ทั้งฝนตก หรือพายุ อาจทำให้ข้าวของที่บรรทุกมาเกิดความเสียหายได้ หรือหล่นลงมาจากรถบรรทุก แล้วไปตกใส่รถคันหลังทำให้เกิดอุบัติเหตุ ดังนั้นตามกฎหมายก็มีกำหนดระยะยื่นจากท้ายรถและความสูงเอาไว้ การคลุมผ้าใบนั้นต้องใช้ผ้าใบสีทึบ เพื่อไม่ให้ส่งแสงสะท้อนสู่ผู้ขับขี่ร่วมทาง รวมถึงการบรรทุกของอื่น ๆ ที่ต้องยึดติดกับตัวรถให้มีความแข็งแรงพอที่จะป้องกันไม่ให้สิ่งของรั่วไหล ตกหล่น ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่นได้ หากรถบรรทุกฝ่าฝืนไม่คลุมผ้าใบทำให้มีของตกหล่น จะมีโทษปรับตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.ศ 2522 มาตรา 32 (3) ว่าตัวเจ้าของบริษัทผู้ประกอบการมีโทษปรับสูงสุด 50,000 บาท และนายทะเบียนอาจพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต ส่วนคนขับมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท และหากเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ผู้ประกอบการต้องชดใช้ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อีกด้วย (อ้างอิงจาก กรมการขนส่งทางบก)

5. รถบรรทุกต้องเปิด GPS ตลอดเวลา ตามกฎหมายใหม่ที่เริ่มบังคับใช้อย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นไปเกี่ยวกับการติดตั้ง GPS Tracker ของรถบรรทุก คือรถใหญ่อย่างรถเมล์หรือรถทัวร์ (รถโดยสารสาธารณะ) และรถบรรทุกลากจูงขนาดใหญ่ ต้องส่งสัญญาณติดตามให้แก่กรมขนส่งได้ติดตามรถได้ตลอดเวลา เพื่อจะได้ทราบความเร็วขณะขับขี่ และพิกัดของตัวรถส่งให้กรมขนส่งติดตามได้ หากไม่ติดตั้งเครื่องนี้ หรือไม่ดูแลรักษาสภาพเครื่องให้ส่งสัญญาณ GPS ได้ตามปกติ ตัวผู้ขับขี่เองมีโทษ ม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่งตามกำกระทรวง มีโทษปรับตั้งแต่ 1,000 – 5,000 บาท

6. ตรวจสอบน้ำมันให้เพียงพอกับระยะทาง เพราะการเข้าจอดเทียบเพื่อเติมน้ำมันรอบใหม่แต่ละครั้งนั้นกินเวลา และต้องต่อคิวนาน รวมถึงปั๊มสำหรับเติมน้ำมันรถบรรทุกนี้ไม่ได้สะดวกทุกที่ จะต้องเข้าจอดในปั๊มเฉพาะรถบรรทุกอันมีพื้นที่เพียงพอให้เลี้ยวเข้าจอดและหักเลี้ยวกลับรถได้ถนัดกว่าด้วย

พ.ร.บ. รถยนต์คืออะไร

ใกล้ถึงเวลาต่อประกันรถยนต์ที่หลายคนคงจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีกับคำว่า พ.ร.บ. และประกันภัยชั้น 1, 2 หรือ 3 แต่น่าจะยังมีอีกหลายคน ที่ยังไม่รู้เลยว่า พ.ร.บ. ย่อมาจากอะไร และเรามีความจำเป็นต้องจ่ายเงินค่า พ.ร.บ ร่วมกับประกันชั้น 1, 2 หรือ 3 หรือไม่ เราซื้อแค่ พ.ร.บ หรือประกันชั้น 1 อย่างใดอย่างหนึ่งได้หรือไม่ ลองมาทำความเข้าใจกันหน่อยเกี่ยวกับเรื่องรูปแบบประกันรถยนต์เหล่านี้
 
พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติ ซึ่ง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จะเป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจะต้องทำและมีไว้เป็นหลักประกันให้กับคนในรถทุกคัน หรือผู้ที่ใช้รถใช้ถนนว่าจะได้รับสิทธิความคุ้มครองจากเงินกองกลางที่รถทุกคันได้ทำ พ.ร.บ. ว่า จะได้รับความคุ้มครอง/เงินค่ารักษาพยาบาลจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือการประสบภัยจากรถในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงทีนั้นเอง
ซึ่งวงเงินคุ้มครองที่ผู้ประสบภัยจะได้รับ ได้มีการกำหนดไว้แล้วอย่างชัดเจนว่า จะมีความคุ้มครองในรูปแบบใด ๆ บ้าง ซึ่งการฝ่าฝืนไม่ทำ พ.ร.บ. นี้ ไม่ได้ทำให้เกิดผลดีกับผู้ใดเลย เพราะนอกจากการที่จะทำให้มีปัญหาในการต่อภาษีรถแล้ว ยังเป็นการทำผิดกฎหมายแบบตรง ๆ เลย เพราะกฎหมายได้บังคับให้ทำ พ.ร.บ. ไว้เป็นขั้นพื้นฐานอยู่แล้วเพื่อให้มั่นใจว่าจะมีการคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ประสบภัยจากรถที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้อย่างทันท่วงที และเป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาล/สถานพยาบาลที่รับผู้ประสบภัยเข้าดูแลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลด้วยเช่นกัน ซึ่งในแง่กฎหมายจะเป็นการแบ่งเบาภาระค่าเสียหาย และบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยและครอบครัวได้นั่นเอง
แล้วประกันรถ ที่รู้จักกันในชื่อ ประกันชั้น 1, 2, 3, 2+ หรือ 3+ ที่เห็นมีการโฆษณา หรือที่มีการพูดถึงกันล่ะ คืออะไร ประกันเหล่านี้ จะอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า ประกันภาคสมัครใจ ซึ่งจะเป็นการซื้อประกันเพิ่มเติมจากความคุ้มครองที่ได้รับจาก พ.ร.บ. ซึ่งในกรณีที่เราเป็นต้นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน พ.ร.บ. จะช่วยคุ้มครองเท่าที่กฎหมายกำหนด แต่ถ้าความเสียหายมีมาก ผู้ที่ทำให้เกิดความเสียหาย จะเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายเอง ซึ่งประกันภาคสมัครใจ จะเข้ามาช่วยรับผิดชอบในกรณีเหล่านี้นั่นเอง ซึ่งในประเทศไทย ประกันภาคสมัครใจ จะแบ่งออกเป็น 5 ประเภท หรือที่เราเรียกกันว่า ประกันชั้น 1, 2, 3, 2+ หรือ 3+ นั่นเอง โดย
  • ประกันชั้น 1 จะให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากที่สุด คือ จะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลในรถ และบุคคลภายนอก รวมถึงความเสียภายที่เกิดขึ้นต่อรถยนต์ที่เอาประกันภัย รวมถึงกรณีเกิดไฟไหม้และการสูญหายด้วย
  • ประกันชั้น 2 จะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลในรถ และบุคคลภายนอก รวมถึงความเสียหายที่เกิดกับรถยนต์จากการเกิดไฟไหม้และการสูญหาย
  • ประกันชั้น 3 จะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอก และความเสียหายที่เกิดกับรถยนต์จากการเกิดไฟไหม้และการสูญหาย
  • ประกันชั้น 2+ จะรับผิดชอบต่อความเสียหายในกรณีเดียวกับประกันชั้น 2 แต่เพิ่มความรับผิดต่อในส่วนของความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย แต่เฉพาะกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และจำเป็นต้องมีคู่กรณีด้วย
  • ประกันชั้น 3+ จะรับผิดชอบต่อความเสียหายในกรณีเดียวกับประกันชั้น 3 แต่คุ้มครองรถยนต์คันเอาประกันภัยในวงเงินจำกัด และเฉพาะกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น
ซึ่งจะเห็นได้ว่า เราสามารถเลือกที่จะทำประกันภาคสมัครใจได้หลากหลายรูปแบบ เพราะค่าเอาประกันภัยของประกันภาคสมัครใจ จะมีค่าบริการที่หลากหลาย และแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทของความคุ้มครองที่เราต้องการนั่นเอง ซึ่งการเลือกประกันภัยรถยนต์ของแต่ละบุคคลเอง ไม่ได้มีสูตรที่แน่นอนตายตัวว่า แบบใดจะดีที่สุด ซึ่งถ้ากำลังมองหาประกันภาคสมัครใจร่วมกับการซื้อ พ.ร.บ. อาจจะเลือกซื้อจากบริษัทประกันภัยเดียวกันไปเลย เพื่อให้การดำเนินการต่าง ๆ การยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้องสามารถทำได้พร้อมกัน เพื่อความสะดวกและความต่อเนื่องในการดำเนินการนั่นเอง แต่จริง ๆ แล้วไม่ได้เป็นการบังคับทางกฎหมายนะครับว่า เราจะต้องซื้อจากบริษัทเดียวกัน เพียงแต่ในเรื่องการดำเนินการ กรณีที่เราเป็นฝ่ายผิดและคู่กรณีที่ได้รับบาดเจ็บต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นน่าจะทำได้สะดวกกว่ากันนั่นเอง แต่ไม่ว่าเราจะเลือกทำประกันภัยรถยนต์จากบริษัทใดก็ตาม ทั้งการทำประกันภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และการทำประกันภาคสมัครใจ สิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจ คือ สิทธิประโยชน์และหน้าที่ของเราตามสัญญาประกันภัยนั่นเอง
พ.ร.บ. รถยนต์คืออะไร

ป้ายจราจร (Traffic Sign)

ป้ายจราจร (Traffic Sign) ในประเทศไทย มีอะไรบ้าง มีกี่ประเภท

ป้ายจราจรหรือ เครื่องหมายจราจร (Traffic Sign) หมายถึง สัญลักษณ์จราจรมีลักษณะเป็นสัญญาณแสงหรือป้ายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการการจราจร ในพื้นที่นั้นๆ ให้มีความคล่องตัว และปลอดภัยสำหรับผู้ขับขี่รถยนต์ทุกประเภท ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

เครื่องหมายจราจรประเภทป้ายบังคับ : มีไว้เพื่อควบคุม ให้ผู้ขับขี่ ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ยกตัวอย่างเช่น ห้ามเลี้ยวซ้าย, ห้ามรถจักรยานยนต์, ห้ามจอดรถ เป็นต้น

เครื่องหมายจราจรประเภทป้ายเตือน : มีไว้เพื่อแจ้งเตือน  ให้กับผู้ขับขี่ได้ระมัดระวังและทราบล่วงหน้าว่ามีอะไรอยู่ข้างหน้า ยกตัวอย่างเช่น สัญญาณไฟ, ทางโค้งขวา, ทางตัดกัน เป็นต้น

เครื่องหมายจราจรป้ายแนะนำ : มีไว้เพื่อแนะนำข้อมูลการเดินทางต่าง ๆ ให้กับผู้ขับขี่ ยกตัวอย่างเช่น เส้นทแยงห้ามจอดรถ, เส้นแบ่งทิศทางจราจรคู่, เส้นห้ามหยุดรถหรือจอดรถ เป็นต้น

Turbo

Turbo

Shock (โช๊ค)

Shock (โช๊ค)