Archives 2020

ส่วนประกอบของระบบเบรค

ส่วนประกอบของเบรค

ส่วนประกอบของระบบเบรค
1. แป้นเบรก (Brake Pedal) หรือขาเบรก เป็นอุปกรณ์ที่ติดอยู่ในรถ ทำหน้าที่คล้ายคานกด รับแรงกดมาจากขา (เท้า) ของผู้ขับขี่ เมื่อเหยียบเบรก ขาเบรกก็จะไปกดสากเบรก ที่สามารถปรับตั้งให้เบรกสูง หรือต่ำได้ ให้เข้าไปกดชุดดันในหม้อลมเบรก
 
2. หม้อลมเบรก ( Booster) เป็นอุปกรณ์ช่วยเพิ่มแรงกด ให้กับขาของเราให้มีแรงกดมากขึ้น ออกแรงเหยียบน้อยลง โดยภายในจะเป็นชุดสุญญากาศ ต่อแรงลมดูดมาจาก เช่นในรถเครื่องยนต์เบนซิล จะต่อมาจากท่อร่วมไอดี หลังลิ้นปีผีเสื้อในบริเวณนี้ในรอบต่ำ ที่ลิ้นปีผีเสื้อยังเปิดไม่สุด แรงดูดของลูกสูบจะทำให้เกิดแรงดูดสุญญากาศสูงมาก แต่ในรอบเครื่องสูงๆแรงดูดจะน้อยลง หม้อลมนั้นจึงจำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ เพื่อเก็บสะสมแรงดูดสุญญากาศไว้ให้มากๆ เพื่อไว้ใช้ในตอนเบรกที่รอบสูงๆ และการเบรกติดต่อกันหลายๆครั้ง ส่วนในเครื่องยนต์ดีเซลมักจะต่อมาจาก ปั้มสุญญากาศแบบอิสระ หรือต่อพ่วงจากปั้มลมหลังตูดไดชาร์จอีกที
 
3. วาล์วสุญญากาศ (Combo Vale) เป็นลักษณะ One Way Vale ทำหน้าที่ให้ระบบสุญญากาศ เป็นไปในทิศทางเดียว คือให้มีแรงดูดจากหม้อลมเบรกไปยังเครื่อง หรือปั้มลม ป้องกันแรงดันสุญญากาศย้อนกลับ หรือรั่วไหลออกจากหม้อลม
 
4. แม่ปั้มเบรก (Master Cylinder)  เป็นชุดสร้างแรงดันไฮโดริคให้กับน้ำมันเบรก ให้เกิดแรงดันสูง ภายในประกอบด้วยชุดลูกยางเบรกหลายตัว แต่ละตัวมีหน้าที่ส่งแรงดันของน้ำมันเบรก ไปในสาย หรือท่อน้ำมันเบรก แรงดันขึ้นอยู่กับขนาดของแม่ปั้ม ลูกสูบเบรก ขนาดของลูกยางเบรก และระยะของสากเบรกที่ติดกับแป้นเบรกว่ามีอัตตราทดเท่าไร
 
5 น้ำมันเบรก (Brake Fluid) เป็นสารเหลวที่ใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดกำลัง แบบไฮโดรลิคไปสู่ปั้มเบรค หรือคาริบเปอร์เบรก อีกทั้งยังเป็นสารหล่อลื่นให้กับลูกยางเบรก ลูกสูบเบรก คุณสมบัติของน้ำมันเบรกแบ่งตามคุณสมบัติการทนความร้อน หรือที่เรียกกันว่า DOT (Department of Transportation) โดย DOT3 จะทนความร้อนได้ไม่ต่ำกว่า 205 องศา DOT4 ทนความร้อนได้ไม่ต่ำกว่า 230 องศา และDOT5 สามารถทนความร้อนได้ไม่ต่ำกว่า 260 องศาเซลเซียส
 
6. ท่อน้ำมันเบรค และสายอ่อนเบรก (Brake Lines) อยู่ในระบบส่งแรงดัน ท่อน้ำมันหรือที่เรียกกันว่า แป๊ปเบรก เป็นท่อเหล็ก หรือทองแดงภายในกลวง เพื่อให้น้ำมันเบรกไหลผ่านด้วยแรงดันสูง
 
7. สายอ่อนเบรก (Brake Host) สายอ่อนเบรกทำมาจากท่อยางไฮโดรลิค หลายชั้นหุ้มด้วยยางกันการเสียดสี และกันความร้อน สามารถอ่อนตัวไปตามการหมุนของล้อ และการขยับของช่วงล่างได้อย่างคล่องตัว
 
8. ปั้มเบรก หรือคาริเปอร์เบรก (Caliper Brakes)
ถ้าเป็นระบบดิสเบรก จะเป็นลักษณะเหมือนปากคีบ หรือเรียกกันว่าก้ามปู ภายในบรรจุลูกสูบเบรก แบ่งตามจำนวนลูกสูบ เรียกว่า พอร์ท เช่น 1 พอร์ท หรือ 4 พอร์ท เพื่อป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันเบรกด้วยลูกยางเบรก เป็นชีลกลมๆรอบๆลูกสูปเบรก ป้องกันฝุ่นและน้ำเข้าด้วยลูกยางกันฝุ่นอีกครั้ง
ในระบบดรั้มเบรก ปั้มเบรก จะเรียกกันว่ากระบอกเบรก เป็นลักษณะเป็นแท่งกลวงยาว ภายในบรรจุลูกสูบเบรก เป็นแท่งกลมประกอบติดกับลูกยางเบรกทั้ง 2 ด้านต่อมาดันผ้าดรัมเบรกให้ขยับเข้าออกได้
 
9. จานเบรค แบ่งได้เป็น 2 ระบบคือ
ระบบ ดรั้มเบรก (Drum Brakes) จานเบรกจะเป็นรูปถ้วย มีชุดแม่ปั้มเบรก และผ้าเบรกประกอบอยู่ภายใน ผ้าดรัมเบรกจะเป็นลักษณะรูปเสี้ยวครึ่งวงกลม 2 ชิ้น ประกอบกับชุดสปริงดึงกลับ ชุดสายเบรคมือ และชุดตั้งระยะห่างของผ้าเบรก
ข้อดี ผ้าเบรก และจานเบรก มีเนื้อที่สัมผัสกันมาก การเบรกจึงมีประสิทธิภาพสูง สิ้นเปลืองวัสดุน้อย ผ้าเบรกสึกช้ากว่าอายุการใช้งานยาวนาน หมดปัญหาเรื่องจานเบรกคด
ข้อเสีย ระบายความร้อนได้ช้า ในการใช้งานเบรกหนักจะเกิดอาการเบรกเฟด (เบรกลื่นในขณะความร้อนสูง) ต้องคอยตั้งระยะผ้าเบรกอย่างสม่ำเสมอ ระยะผ้าเบรกในแต่ละล้อที่ไม่เท่ากัน ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเบรกไม่เท่ากันไปด้วย รถอาจเสียการทรงตัวเวลาเบรกได้ ถ้ามีการเปียกน้ำต้องใช้เวลาในการสลัดน้ำทิ้งนาน หรือรอเกิดความร้อนจนน้ำแห้ง และจะเกิดอาการลื่น เกิดการสะสมตัวของฝุ่นเบรก ทำให้ประสิทธิภาพต่ำลง
ระบบ ดิสเบรก (Disk Brakes) จานเบรกเป็นลักษณะกลมแบน คล้ายจานดิส มีทั้งแบบมีร่องระบายความร้อน และไม่มีร่องระบายความร้อน จานเบรกทำมาจากวัสดุหลายชนิด เช่นเหล็กหล่อ และวัสดุผสม ผ้าเบรกแบ่งเป็น 2 ชิ้นประกบกับจานเบรก โดยมีแม่ปั้มเบรก หรือก้ามปูหนีบไว้อีกที
ข้อดี มีการระบายความร้อนที่ดี ลดอาการเบรกเฟดในการใช้งานเบรกติดต่อกัน และรุนแรง ระยะห่างผ้าเบรกมีการปรับตั้งได้เอง ตามความหนาของผ้า ทำให้ประสิทธิภาพดีเท่ากันในทุกล้อ ลดการสะสมตัวของฝุ่นเบรก
ข้อเสีย จานเบรกติดตั้งภายนอกสัมผัสกับความชื้น น้ำ และฝุ่นผง ทำให้มีการสึกหรออย่างรวดเร็ว เกิดอาการบิดตัวได้ง่าย เมื่อต้องเจอกับน้ำในขณะมีความร้อน ใช้ต้นการผลิตทุนสูง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จานเบรค
10. ผ้าเบรก (Brake Pad)  เป็นตัวที่ทำให้เกิดความฝืดระหว่าง ผ้าเบรก และจานเบรก ความฝืดมากมีผลทำให้รถยนต์ ลดความเร็วได้ระยะทางที่สั้นลง ผ้าเบรกแบ่งเกรดตามวัสดุที่ใช้ผสมในเนื้อผ้าเบรก และค่าความฝืดหรือค่า มิว Coefficient of Friction ได้ 3 แบบคือ
1. NAO (Non Asbestos Organic) ใช้วัสดุที่มีความอ่อน จำพวก เคฟล่า ส่วนผสม ของยางไม้ ไฟเบอร์ จากเดิมที่เคยใช้พวกแร่ใยหิน Asbestos ที่ถูกยกเลิกไปแล้ว เนื่องจากความไม่ปรอดภัยต่อระบบหายใจ พวกนี้จะมีความฝืดที่ดีในอุณหภูมิต่ำ แต่ที่ความร้อนสูงจะจับตัวได้ไม่ดี มีเสียงรบกวนน้อย ส่วนมากใช้กับรถ OEM จากโรงงาน ระดับความฝืดอยู่ที่ 0.30 – 0.45
2. Semi-Metallic ใช้วัสดุจำพวกใยโลหะที่มีความอ่อน มีส่วนประกอบเช่น เนื้อไฟเบอร์ประมาณ 50% เป็นตัวช่วยให้เกิดความฝืด และทนความร้อน ใช้เรซิ่นประมาณ 15% ช่วยในการประสานตัว และสาร Abrasive 10% และพวก Metal Power อีก 10 % พวกนี้จะมีความฝืดดีที่อุณหภูมิสูง ใช้กับรถบรรทุกหนัก และรถที่ใช้งานเบรกหนักอย่างต่อเนื่อง เช่นรถที่ชอบขับที่ความเร็วสูงเบรกบ่อยๆ ระดับความฝืดจะอยู่ที่ 0.40-0.55
3. Fully Metallic ใช้วัสดุพวกผงเหล็กที่มีความละเอียด เช่นผงทองแดง ไททาเนียม เซรามิค คาร์บอน มาขึ้นรูป ผ้าเบรกพวกนี้จะมีประสิทธิภาพมากที่ความร้อนสูง มีความฝืดคงที่ แต่จะมีเสียงดัง มีการสึกหรอสูงทั้งผ้าเบรก และจานเบรก เหมาะสำหรับรถแข่งในสนามแข่งขันที่จานเบรกร้อนตลอดเวลา ระดับความฝืดอยู่ที่ 06.0 ขึ้นไป

แจ้งเปลี่ยนชื่อเรียกน้ำมันดีเซลใหม่

แจ้งเปลี่ยนชื่อเรียกน้ำมันดีเซลใหม่

 

พีทีที สเตชั่น พร้อมเปลี่ยนชื่อน้ำมันดีเซลตามประกาศกรมธุรกิจพลังงานจาก “ดีเซล บี10” เป็น “ดีเซล” และจาก “ดีเซล” เป็น “ดีเซล บี7” ตั้งแต่ 1 ตุลาคม นี้

 
 

ตามที่กรมธุรกิจพลังงานได้ออกประกาศให้ น้ำมันดีเซล บี10 เป็นน้ำมันดีเซลเกรดมาตรฐานของประเทศ และให้เรียกชื่อว่า น้ำมันดีเซล ส่วนน้ำมันดีเซล (บี7) ที่จำหน่ายในชื่อน้ำมันดีเซลอยู่นั้น จะต้องเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น น้ำมันดีเซล บี 7 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 เป็นต้นไป  สถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น (PTT Station) ได้เตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนป้ายชื่อผลิตภัณฑ์กลุ่มดีเซลที่ตู้จ่าย และป้ายสัญลักษณ์ต่าง ๆ ให้เป็นไปตามประกาศ โดยจะเริ่มดำเนินการและสื่อสารให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2563 เป็นต้นไป เพื่อให้แล้วเสร็จครบทุกสถานีบริการทั่วประเทศภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2563 โดยชื่อผลิตภัณฑ์ที่เปลี่ยนไป มีดังนี้

– น้ำมันอัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล บี10 (UltraForce Diesel B10) เปลี่ยนชื่อเป็น อัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล (UltraForce Diesel)

– น้ำมันอัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล (UltraForce Diesel) เปลี่ยนชื่อเป็น อัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล บี7 (UltraForce Diesel B7)

– น้ำมันอัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล พรีเมียม (UltraForce Diesel Premium) เปลี่ยนชื่อเป็นอัลตร้าฟอร์ซ ดีเซลพรีเมียม บี7 (UltraForce Diesel Premium B7)

        น้ำมันดีเซล บี10 ซึ่งจะใช้ชื่อใหม่ว่า อัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล นั้น คือน้ำมันที่มีส่วนผสมของไบโอดีเซล 10% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจากน้ำมันดีเซล บี 7 ที่ใช้กันอยู่เพียง 3% จึงให้สมรรถนะการขับขี่ที่ไม่แตกต่างจากเดิม และได้ผ่านการทดสอบแล้วว่าไม่ส่งผลกระทบต่อเครื่องยนต์ ระบบเชื้อเพลิง หรือหัวจ่ายน้ำมัน เนื่องจากใช้ไบโอดีเซลคุณภาพสูงที่ได้รับการรับรองการใช้งานจากสมาคมผู้ผลิตยานยนต์ญี่ปุ่น (Japan Automobile Manufacturer Association – JAMA) อีกทั้งยังมั่นใจได้ถึงความแรงด้วยสารเติมแต่งสูตรพิเศษ UltraForce สูตรเฉพาะของ พีทีที สเตชั่น 

ความแตกต่างระหว่าง แก๊ส LPG และ ก๊าซ NGV

LPG และ NGV

ความแตกต่างระหว่าง แก๊ส LPG และ ก๊าซ NGV

ก๊าซธรรมชาติ (NGV) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนซึ่งมีองค์ประกอบของก๊าซมีเทน (Methane) เป็นส่วนใหญ่ จึงเป็นก๊าซที่มีน้ำหนักเบากว่าอากาศ  การขนส่งไปยังผู้ใช้จะขนส่งผ่านทางท่อในรูปก๊าซภายใต้ความดันสูงจึงไม่เหมาะสำหรับการขนส่งไกลๆ หรืออาจบรรจุใส่ถังในรูปก๊าซ
ธรรมชาติอัดโดยใช้ความดันสูง หรือที่เรียกว่า CNG แต่ปัจจุบันมีการส่งก๊าซธรรมชาติในรูปของเหลวโดยทำก๊าซให้เย็นลงถึง -160 องศาเซลเซียส จะได้ของเหลวที่เรียกว่า Liquefied Natural Gas หรือ LNG ซึ่งสามารถขนส่งทางเรือไปที่ไกลๆ ได้และเมื่อถึงปลายทางก่อนนำมาใช้ก็จะทำให้ของเหลวเปลี่ยนสถานะกลับเป็นก๊าซอย่างเดิม ก๊าซธรรมชาติมีค่า ออกเทนสูงถึง 120 RON จึงสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์ได้
 
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งมีองค์ประกอบของก๊าซโพรเพน (Propane) เป็นส่วนใหญ่ จึงเป็นก๊าซที่หนักกว่าอากาศ โดยตัว LPG เองไม่มีสี ไม่มีกลิ่นเช่นเดียวกับก๊าซธรรมาชาติ แต่เนื่องจากเป็นก๊าซที่หนักกว่าอากาศจึงมีการสะสมและลุกไหม้ได้ง่าย ดังนั้น จึงมีข้อกำหนดให้เติมสารมีกลิ่น เพื่อเป็นการเตือนภัยหากเกิดการรั่วไหล LPG ส่วนใหญ่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือนและกิจการอุตสาหกรรม โดยบรรจุเป็นของเหลวใส่ถังที่ทนความดันเพื่อให้ขนถ่ายง่าย นอกจากนี้ ยังนิยมใช้แทนน้ำมันเบนซินในรถยนต์ เนื่องจากราคาถูกกว่าและมีค่าออกเทนสูงถึง 105 RON 
ตางรางเปรียบเทียบคุณสมบัติของ NG และ LPG
 
หมายเหตุ
1. ค่าออกเทน (Octane Number) หมายถึง หน่วยการวัดความสามารถ ในการต้านทานการน็อคของเครื่องยนต์
2. RON (Research Octane Number) เป็นค่าออกเทนที่มีประสิทธิภาพต่อต้านการน็อคในเครื่องยนต์หลายสูบ ที่ทำงานอยู่ในรอบของช่วงหมุนต่ำ โดยใช้เครื่องยนต์ทดสอบมาตรฐานภายใต้สภาวะมาตรฐาน 600 รอบต่อนาที
3. MON (Motor Octane Number) เป็นค่าออกเทนที่มีประสิทธิภาพต่อต้านการน็อคในเครื่องยนต์หลายสูบ ในขณะทำงานที่รอบสูง โดยใช้เครื่องยนต์ทดสอบมาตรฐานภายใต้สภาวะมาตรฐาน 900 รอบต่อนาที
หมายเหตุ : ค่าแรงดันก๊าซ
LPG ขณะอยู่ในถังมีสถานะเป็นของเหลว มีค่าแรงดัน 100-130 PSI (ปอล์นต่อตารางนิ้ว) หรือ 4-6 BAR 
NGV ขณะอยู่ในถังมีสถานะเป็นก๊าซ มีค่าแรงดันประมาณ 2200-2800 PSI หากเติมเต็มๆจะถึง 3000 PSI หรือ 200 BAR 

การลดเสียงในห้องเครื่องแดมป์

         3 วิธีลดเสียงรบกวนภายในห้องโดยสาร

1.พ่นซุ้มล้อ

     ปัจจุบันมีสเปรย์สำหรับพ่นใต้ซุ้มล้อ (Rubberized Undercoating) วิธีทำก็ง่ายมาก เพียงพ่นลงไปยังบริเวณใต้ซุ้มล้อทั้ง 4 ข้าง แล้วปล่อยให้แห้งประมาณ 30 นาที โดยวัสดุที่พ่นจะมีลักษณะเป็นยางเคลือบสีดำ ที่สามารถป้องกันเสียงจากล้อเข้ามายังโดยสารได้ในระดับหนึ่ง โดยสเปรย์ 1 กระป๋อง จะสามารถใช้ได้ 1 ซุ้มล้อ ราคาจำหน่ายอยู่ที่ประมาณ 200-300 บาทเท่านั้น

100

2.เปลี่ยน/เสริมยางขอบประตู

     ขอบประตูเป็นอีกจุดสำคัญที่ทำให้เสียงภายนอกสามารถเล็ดลอดเข้ามายังห้องโดยสารได้ หากใช้รถที่มีอายุอานามพอสมควร เป็นไปได้ว่ายางขอบประตูเริ่มเสื่อมสภาพ จนทำให้เสียงเข้ามายังห้องโดยสารได้มากขึ้น ยางขอบประตูปัจจุบันมีให้เลือกทั้งของแท้ ของเทียบเทียมมากมาย ทางที่ดีควรเลือกที่มีลักษณะเหมือนกับของเดิม เช่น ของเดิมเป็นแบบนวมยางชั้นเดียว ก็ควรเลือกของใหม่ที่เป็นนวมยางชั้นเดียวเช่นกัน จะทำให้ไม่มีปัญหาปิดประตูยาก

     นอกจากนั้น หากยางขอบประตูยังมีสภาพใหม่อยู่ แต่กลับมีเสียงรบกวนเข้ามาค่อนข้างชัด ก็สามารถเลือกติดตั้งยางกันเสียงเพิ่มเติมได้ ซึ่งจะเป็นการติดคนละตำแหน่งกับยางขอบประตูเดิม ก็จะช่วยกรองเสียงรบกวนเข้ามาได้อีกชั้นหนึ่ง ราคาจำหน่ายก็มีหลากหลาย ส่วนใหญ่มักอยู่ราว 2-3 พันบาท

102

3.แดมป์พื้น/ประตู

     วิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก ก็คือ การแดมป์รอบคัน โดยใช้วัสดุซับเสียง (Sound Deadening) ซึ่งการติดตั้งควรเลือกช่างที่ไว้ใจได้ เพราะการแดมป์จำเป็นต้องรื้อเบาะนั่งและพรมภายในรถออก เพื่อติดตั้งแผ่นซับเสียงลงบนพื้นตัวรถ, ผนังซุ้มล้อ และผนังกั้นระหว่างห้องเครื่องยนต์ จึงควรเลือกช่างที่มีประสบการณ์ในการถอด-ประกอบเป็นอย่างดี

     นอกจากนั้น การแดมป์ประตูยังเป็นอีกหนึ่งอ็อพชั่นที่หลายคนเลือกทำเช่นกัน เพื่อลดเสียงรบกวนรอบข้างให้ลดลงน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งราคาค่าติดตั้งก็ป้วนเปี้ยนตั้งแต่หมื่นต้น ไปจนถึงหลายหมื่นบาท ขึ้นอยู่กับวัสดุซับเสียงและร้านติดตั้งด้วย

     เหล่านี้เป็นวิธีที่ช่วยลดเสียงรบกวนภายในห้องโดยสารลงได้ แต่อย่างไรก็ดี ผลลัพธ์ที่ได้ก็ขึ้นอยู่กับรุ่นรถและวัสดุที่ใช้ ซึ่งทำให้การซับเสียงแตกต่างกันไปด้วย

เดซิเบลในชีวิตประจำวัน

  • ระดับเบามาก (0-20 dB) เช่น เสียงหายใจ เสียงกระซิบ นั่นแปลว่าเสียงที่มนุษย์เริ่มได้ยินก็คือตั้งแต่ 0 dB เลย
  • ระดับเบา (30-40 dB)ช่น เสียงในห้องสมุด เสียงห้องนอนตอนกลางคืน
  • ระดับปานกลาง (50-60 dB) เช่น  เสียงฝนตกเบาๆ เสียงพูดคุยทั่วไป
  • ระดับดัง (70-80 dB) เช่น เสียงเครื่องดูดฝุ่น เสียงนกหวีด และไม่ควรฟังเสียงที่ดังตั้งแต่ 85 dB ขึ้นไปเป็นเวลานานๆ เพราะอาจสูญเสียการได้ยิน
  • ระดับดังมาก (90-100 dB) เช่น เสียงเครื่องตัดหญ้า เสียงโรงงาน
  • ระดับดังสุดๆ (110-140 dB) เช่น เสียงเพลงแดนซ์ในผับ เสียงคอนเสิร์ตร็อค เสียงเครื่องบินเจ็ต โดยไม่ควรได้รับเสียงตั้งแต่ 100-120 dB เกิน 1-2 ชม. และเมื่อเสียงดังถึง 130 dB จะเริ่มมีอาการปวดหู

เมื่อทราบกันแล้ว ใครที่รู้ตัวว่าอยู่ในสถานการณ์ที่มีเสียงดังบ่อยๆ เมื่อมีโอกาสก็ควรหลีกเลี่ยงนะ โดยสามารถดำเนินการทางกฎหมายได้ ในกรณีที่มีการใช้เสียงดังบริเวณใกล้เคียง ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 (2540) ซึ่งกำหนดมาตรฐานความดังเสียงทั่วไปสูงสุดไม่เกิน 115 dB

นอกจากนี้ บริเวณที่มีการก่อเสียงดังรบกวน เช่น

  • การตั้งวงเหล้า
  • จัดปาร์ตี้
  • เปิดเพลงเสียงดัง
  • ข้างบ้านตะโกนไฟไหม้ แต่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง
  • สุนัขเห่า
  • เปิดทีวีเสียงดัง
  • เสียงคนทะเลาะกัน
  • ขนของเสียงดัง
  • เสียงก่อสร้างต่อเติมบ้าน

ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาม.370 ผู้ใดส่งเสียง ทำให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึง โดยไม่มีเหตุอันสมควร จนทำให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

ส่วนเสียงสุนัขเห่า อาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.397 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท

 

ประเภทของเสียง

แบ่งตามลักษณะการเกิดเสียงได้ 3 ลักษณะ

1. เสียงดังแบบต่อเนื่อง (continuous Noise) เป็นเสียงดังที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ เสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (steady-state Noise) และเสียงดีงต่อเนื่องที่ไม่คงที่  (Non steady state Noise)

1.1 เสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (Steady-state Noise) เป็นลักษณะเสียงดังต่อเนื่องที่มีระดับเสียง เปลี่ยนแปลง ไม่เกิน 3 เดซิเบล เช่น เสียงจากเครื่องทอผ้า เครื่องปั่นด้าย เสียงพัดลม เป็นต้u

1.2 เสียงดังต่อเนื่องที่ไม่คงที่  (Non-steady state Noise)  เป็นลักษณะเสียงดังต่อเนื่องที่มี ระดับเลียงเปลี่ยนแปลงเกินกว่า  10 เดชิเบล  เช่น เสียงจากเลื่อยวงเดือน    เครื่องเจียร    เป็นต้น

2. เสียงดังเป็นช่วงๆ (lntermittent Noise) เป็นเสียงที่ดังไม่ต่อเนีอง มีความเงียบหรีอเบากว่าเป็นระยะๆลลับไปมา เช่น เสียงเครื่องปั๊ม/อัดลม เสียงจราจร เสียงเครื่องบินที่บินผ่านไปมา เป็นต้น

3. เสียงดังกระทบ หรือ กระแทก (lmpact or lmpulse Noise) เป็นเสียงที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดอย่างรวดเร็ว ในเวลาน้อยกว่า 1 วินาที มีการเปลี่ยนแปลงของเสียงมากกว่า 40 เดชิเบล เช่น เสียงการตอกเสาเข็ ม การปั๊มชิ้นงาน การทุบเคาะอย่างแรง เป็นต้น

ประเภทของรถบรรทุก

หลายๆ ท่านที่อยู่ในวงการขนส่งอาจจะเคยพบรถบรรทุกมาหลายประเภท แต่อาจจะยังไม่เคยทราบถึงประเภทรถบรรทุกที่กฎหมายกำหนดดังนั้น  มีเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับประเภทของรถบรรทุกมาฝากกันค่ะ

ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้ให้คำนิยามของรถบรรทุกไว้ว่า รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของเพื่อค่าสินจ้างหรือเพื่อธุรกิจการค้าของตนเองโดยจะต้องมีน้ำหนักรวมไม่เกิน 1600 กิโลกรัม ซึ่งได้กำหนดลักษณะการใช้รถในการขนสิ่งของหรือสัตว์ โดยแยกออก ทั้งหมด 9 ลักษณะต่อไปนี้ 🚍

รถกระบะบรรทุก

– ซึ่งส่วนที่ใช้จะมีลักษณะเป็นกระบะ จะมีหลังคาหรือไม่มีก็ได้ หรือจะมีเครื่องทุ่นแรง ไว้เพื่อช่วยสำหรับยกสิ่งของได้ รวมถึงรถที่ใช้ในการบรรทุกไม่มีด้านข้างหรือด้านท้าย

✅ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 2 ( บ.2 , ท.2 ) สามารถขับรถบรรทุก สิบล้อ,หกล้อ,รถบัส,รถเมล์,รถตู้,รถยนต์

รถตู้บรรทุก

– โดยรถที่ใช้ในการบรรทุกจะมีลักษณะเป็นตู้ทึบ และมีหลังคาและตัวถังที่บรรทุกระหว่างผู้โดยสารและผู้ขับเป็นตอนเดียว โดยจะมีประตูบานใหญ่ไว้สำหรับให้ผู้โดยสารขึ้นลง หรือจะเลือกเปิดท้ายก็ได้

✅ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 2 ( บ.2 , ท.2 ) สามารถขับรถบรรทุก สิบล้อ,หกล้อ,รถบัส,รถเมล์,รถตู้,รถยนต์

รถบรรทุกของเหลว

– เป็นรถที่ใช้ในการบรรทุกของเหลวตามความเหมาะสมและจะต้องเป็นประเภทที่มีความปลอดภัยสูง

✅ ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 4 ( บ.4 , ท.4 ) สามารถขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งวัตถุอันตราย

รถบรรทุกวัสดุอันตราย

– เป็นรถที่ใช้ในการบรรทุกเฉพาะเพื่อใช้ในการบรรทุกวัสดุอันตราย ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง สารเคมี วัตถุระเบิด วัสดุไวไฟ ซึ่งจะมีลักษณะเฉพาะและมีป้ายเตือนอย่างชัดเจน

✅ ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 4 สามารถขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งวัตถุอันตราย

รถบรรทุกเฉพาะกิจ

– ซึ่งเป็นรถที่ใช้ในการบรรทุกที่มีลักษณะพิเศษ เพื่อใช้ในการเฉพาะ เช่น รถบรรทุกเครื่องดื่ม รถผสมซีเมนต์ รถขยะมูลฝอย รถราดยาง หรือรถเครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ

✅ ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 4 ( บ.4 , ท.4 ) สามารถขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งวัตถุอันตราย

รถพ่วง

– เป็นรถที่ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง จึงต้องอาศัยรถอื่นลากจูงโดยจะมีโครงรถที่มีเพลาล้อที่สมบูรณ์ในตัวเอง

✅ ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 3 ( บ.3 , ท.3 ) สามารถขับรถสิบล้อพ่วง,รถหัวลาก

รถกึ่งพ่วง

– เป็นรถที่ไม่มีแรงขับเคลื่อนในตัวเอง จึงต้องใช้หัวรถลาก โดยน้ำหนักของรถบางส่วนจะต้องเฉลี่ยลงบนเพลาล้อของคันลากจูง

✅ ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 3 ( บ.3 , ท.3 ) สามารถขับรถสิบล้อพ่วง,รถหัวลาก

รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาง

– เป็นรถที่ไว้ใช้ในการขนสิ่งของที่ยาว โดยจะมีโครงโลหะที่สามารถปรับตัวได้ตามช่วงล้อลากจูง

✅ ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 3 ( บ.3 , ท.3 ) สามารถขับรถสิบล้อพ่วง,รถหัวลาก

รถลากจูง

– เป็นรถที่เป็นลักษณะสำหรับใช้ลากรถพ่วง รถกึ่งพ่วง เพราะรถเหล่านั้นจะไม่สามารถที่ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองจึงต้องอาศัยรถประเภทนี้ในการลากจูง

✅ ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 2 ( บ.2 , ท.2 ) สามารถขับรถบรรทุก สิบล้อ,หกล้อ,รถบัส,รถเมล์,รถตู้,รถยนต์

 

ท่าบริหารร่างกายง่วงตอนขับรถ

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ประชาชนนิยมเดินทางกลับภูมิลำเนาหรือไปเที่ยวต่างจังหวัด อาจมีระยะทางไกลและใช้เวลาในการขับรถนานเนื่องจากมีผู้เดินทางจำนวนมาก เพื่อความปลอดภัย ก่อนขับรถทางไกลทุกครั้งผู้ขับจึงควรพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง เตรียมผ้าเย็นเวลาง่วงและสวมแว่นตากันแดดขณะขับรถ

ที่สำคัญควรตรวจสภาพของรถยนต์ให้พร้อมใช้งานปรับการนั่งขับรถให้ถูกต้อง โดยเลื่อนเบาะที่นั่งให้อยู่ในระดับเหมาะสมกับตนเอง หลังชิดพนักพิง ไม่นั่งห่างหรือชิดพวงมาลัยมากเกินไปเพราะจะทำให้หลังโค้ง พิงพนักไม่ได้ หรือพิงได้แต่เวลาขับต้องเหยียดแขนและเข่ามากขึ้น เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดหลัง ซึ่งหากปวดหลังเป็นเวลานานและไม่มีการดูแลอย่างถูกวิธี อาจทำให้เกิดการปวดหลังถาวรได้และควรคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยขณะขับรถทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร

ทั้งนี้ ระหว่างเดินทาง ผู้ขับรถยนต์สามารถลดอาการเมื่อยล้าได้แม้อยู่ในรถ ขณะที่รถหยุดนิ่ง หรือในช่วงรถติด ด้วยการบริหารร่างกายง่าย ๆ เช่น ท่ายืดเหยียดกล้ามเนื้อคอ ให้เอียงคอลงมาด้านข้าง เข้าหาหัวไหล่ ให้ฝั่งตรงข้ามรู้สึกตึง ทำค้างไว้ประมาณ 15 วินาที จากนั้นสลับปฏิบัติด้านตรงข้าม ท่ายืดเหยียดกล้ามเนื้อคอด้านหลัง ให้ค่อย ๆ ก้มศีรษะเข้าหาลำตัวจนรู้สึกตึงบริเวณลำคอด้านหลัง ลำตัวตรง ค้างไว้ประมาณ 15 วินาที

 

ท่ายืดไหล่ ทำได้โดยนั่งยืดตัว แล้วบีบไหล่ยกขึ้นไปหาใบหู ค้างไว้ นับ 1-2 แล้วเอาลง จากนั้นทำซ้ำ 5 ครั้ง จะรู้สึกกระชุ่มกระชวยขึ้น ท่าบิดตัว ทำได้โดยนั่งยืดตัวตรงขึ้น มือจับที่ขอบเบาะแล้วบิดตัวไปข้างใดข้างหนึ่งค้างไว้ นับ 1-5 จากนั้นสลับปฏิบัติอีกข้าง ทำประมาณ 5 ครั้ง และท่าบริหารเท้า ทำได้โดยนั่งเหยียดขาออกไปด้านหน้า ยกเท้าให้ลอยขึ้นพ้นพื้น เหยียดปลายเท้าให้สุด จากนั้นกระดกปลายเท้าขึ้น-ลง ทำประมาณ 5 ครั้ง แล้วสลับข้างปฏิบัติอีกข้าง จะช่วยคลายเมื่อยได้” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

ขับรถบรรทุกต้องเตรียมตัวอย่างไร

จจุบันการดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่มักมีเรื่องของการขนส่งเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางถนน ทางทะเล หรือทางอากาศ ทุกรูปแบบของการขนส่งต้องมีความรู้และความชำนาญเฉพาะทาง ซึ่งการขนส่งทางถนนนั้นนับได้ว่าเป็นการขนส่งที่ผู้ประกอบการนิยมใช้มากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีการขนส่งที่สะดวก รวดเร็ว สามารถขนส่งได้ปริมาณมาก และยังครอบคลุมพื้นที่ในการให้บริการอีกด้วย มีทั้งรถกระบะ 4 ล้อ, รถบรรทุก 6 ล้อ, รถบรรทุก 10 ล้อ และรถหัวลาก ซึ่งในวันนี้เราจะพูดถึงการขับรถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ว่าควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

ข้อควรรู้ก่อนวิ่งรถบรรทุก

1. ต้องมีใบขับขี่ประเภท 2 (ใบอนุญาตขับขี่ที่สามารถขับรถสาธารณะได้) ซึ่งใบขับขี่ประเภทนี้ ถูกแบ่งเป็น 2 ชนิด
1.1ใบอนุญาตขับรถทุกประเภท บ.2 คือ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภทส่วนบุคคล คือ การอนุญาตให้สามารถขับขี่เพื่อขนส่งส่วนบุคคล 1.2 ใบอนุญาตขับรถทุกประเภท ท.2 คือ ใบอนุญาตประเภทให้สามารถขับขี่เพื่อขนส่งได้ทุกประเภท ทั้งใช้สำหรับการขับขี่ขนส่งเพื่อการค้า หรือ ธุรกิจส่วนตัว  และใช้ขนส่งเพื่อรับจ้าง หรือประกอบธุรกิจการขนส่งได้  เช่น การขนส่งคน การขนส่งสิ่งของ เป็นต้น
– รถบรรทุกสาธารณะ (ท.2) เช่น รถบัส, รถบรรทุก 6-10 ล้อ ป้ายทะเบียนพื้นสีเหลือง
– รถบรรทุกส่วนบุคคล (บ.2) เช่น รถบัส, รถบรรทุก 6-10 ล้อ ป้ายทะเบียนพื้นสีขาว

2. ขับรถบรรทุกต้องรู้เรื่องการจำกัดเวลาและพื้นที่วิ่งของรถบรรทุก จากสภาพการจราจรที่ติดขัดในพื้นที่กรุงเทพฯทำให้ต้องมีกฎหมายกำหนดห้ามรถบรรทุกวิ่งพื้นที่ชั้นใน
พื้นราบ
– ห้ามรถบรรทุกก๊าซ วัตถุไวไฟ ตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไปและรถพ่วงเดินรถในเขตกรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 06.00-22.00 น. ทุกวัน เว้นวันอาทิตย์
– รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งในเวลา 06.00 – 09.00 น. และ เวลา 16.00-20.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ
– รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งในเวลา 06.00 – 10.00 น. และ เวลา 15.00-21.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ
– ห้ามรถบรรทุกอื่น เช่น บรรทุกซุง เสาเข็ม เดินรถ เวลา 06.00-21.00 น.
ทางด่วน
– รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ห้ามเวลา 06.00-09.00 น. และ 16.00-20.00 น.
– รถบรรทุก 10ล้อขึ้นไป ห้ามเวลา 06.00-09.00 น. และ 15.00-21.00 น.
– รถบรรทุกสารเคมี ห้ามเวลา 06.00-10.00 น. และ 15.00-22.00 น.

3. รถบรรทุกมีการจำกัดน้ำหนักในการวิ่งทางราบและบนทางด่วน ตามประกาศกำหนดพิกัดน้ำหนักรถบรรทุกที่เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2557 ได้กำหนดน้ำหนักของรถบรรทุกรวมน้ำหนักรถไว้ว่า
– รถ 6 ล้อต้องบรรทุกน้ำหนักไม่เกิน 15 ตัน
– รถ 10 ล้อ ต้องบรรทุกน้ำหนักไม่เกิน 25 ตัน
ทั้งนี้ระหว่างทางจะมีจุดชั่งน้ำหนักรถให้บริการอยู่ หากรถบรรทุกน้ำหนักเกิน หรือฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (อ้างอิงจาก สำนักงานควบคุมน้ำหนักยานพาหนะ)

4. ผ้าใบคลุมรถต้องมีความแน่นหนา เพราะสภาพอากาศอาจเปลี่ยนแปลงได้ระหว่างทาง ทั้งฝนตก หรือพายุ อาจทำให้ข้าวของที่บรรทุกมาเกิดความเสียหายได้ หรือหล่นลงมาจากรถบรรทุก แล้วไปตกใส่รถคันหลังทำให้เกิดอุบัติเหตุ ดังนั้นตามกฎหมายก็มีกำหนดระยะยื่นจากท้ายรถและความสูงเอาไว้ การคลุมผ้าใบนั้นต้องใช้ผ้าใบสีทึบ เพื่อไม่ให้ส่งแสงสะท้อนสู่ผู้ขับขี่ร่วมทาง รวมถึงการบรรทุกของอื่น ๆ ที่ต้องยึดติดกับตัวรถให้มีความแข็งแรงพอที่จะป้องกันไม่ให้สิ่งของรั่วไหล ตกหล่น ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่นได้ หากรถบรรทุกฝ่าฝืนไม่คลุมผ้าใบทำให้มีของตกหล่น จะมีโทษปรับตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.ศ 2522 มาตรา 32 (3) ว่าตัวเจ้าของบริษัทผู้ประกอบการมีโทษปรับสูงสุด 50,000 บาท และนายทะเบียนอาจพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต ส่วนคนขับมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท และหากเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ผู้ประกอบการต้องชดใช้ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อีกด้วย (อ้างอิงจาก กรมการขนส่งทางบก)

5. รถบรรทุกต้องเปิด GPS ตลอดเวลา ตามกฎหมายใหม่ที่เริ่มบังคับใช้อย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นไปเกี่ยวกับการติดตั้ง GPS Tracker ของรถบรรทุก คือรถใหญ่อย่างรถเมล์หรือรถทัวร์ (รถโดยสารสาธารณะ) และรถบรรทุกลากจูงขนาดใหญ่ ต้องส่งสัญญาณติดตามให้แก่กรมขนส่งได้ติดตามรถได้ตลอดเวลา เพื่อจะได้ทราบความเร็วขณะขับขี่ และพิกัดของตัวรถส่งให้กรมขนส่งติดตามได้ หากไม่ติดตั้งเครื่องนี้ หรือไม่ดูแลรักษาสภาพเครื่องให้ส่งสัญญาณ GPS ได้ตามปกติ ตัวผู้ขับขี่เองมีโทษ ม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่งตามกำกระทรวง มีโทษปรับตั้งแต่ 1,000 – 5,000 บาท

6. ตรวจสอบน้ำมันให้เพียงพอกับระยะทาง เพราะการเข้าจอดเทียบเพื่อเติมน้ำมันรอบใหม่แต่ละครั้งนั้นกินเวลา และต้องต่อคิวนาน รวมถึงปั๊มสำหรับเติมน้ำมันรถบรรทุกนี้ไม่ได้สะดวกทุกที่ จะต้องเข้าจอดในปั๊มเฉพาะรถบรรทุกอันมีพื้นที่เพียงพอให้เลี้ยวเข้าจอดและหักเลี้ยวกลับรถได้ถนัดกว่าด้วย

พ.ร.บ. รถยนต์คืออะไร

ใกล้ถึงเวลาต่อประกันรถยนต์ที่หลายคนคงจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีกับคำว่า พ.ร.บ. และประกันภัยชั้น 1, 2 หรือ 3 แต่น่าจะยังมีอีกหลายคน ที่ยังไม่รู้เลยว่า พ.ร.บ. ย่อมาจากอะไร และเรามีความจำเป็นต้องจ่ายเงินค่า พ.ร.บ ร่วมกับประกันชั้น 1, 2 หรือ 3 หรือไม่ เราซื้อแค่ พ.ร.บ หรือประกันชั้น 1 อย่างใดอย่างหนึ่งได้หรือไม่ ลองมาทำความเข้าใจกันหน่อยเกี่ยวกับเรื่องรูปแบบประกันรถยนต์เหล่านี้
 
พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติ ซึ่ง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จะเป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจะต้องทำและมีไว้เป็นหลักประกันให้กับคนในรถทุกคัน หรือผู้ที่ใช้รถใช้ถนนว่าจะได้รับสิทธิความคุ้มครองจากเงินกองกลางที่รถทุกคันได้ทำ พ.ร.บ. ว่า จะได้รับความคุ้มครอง/เงินค่ารักษาพยาบาลจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือการประสบภัยจากรถในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงทีนั้นเอง
ซึ่งวงเงินคุ้มครองที่ผู้ประสบภัยจะได้รับ ได้มีการกำหนดไว้แล้วอย่างชัดเจนว่า จะมีความคุ้มครองในรูปแบบใด ๆ บ้าง ซึ่งการฝ่าฝืนไม่ทำ พ.ร.บ. นี้ ไม่ได้ทำให้เกิดผลดีกับผู้ใดเลย เพราะนอกจากการที่จะทำให้มีปัญหาในการต่อภาษีรถแล้ว ยังเป็นการทำผิดกฎหมายแบบตรง ๆ เลย เพราะกฎหมายได้บังคับให้ทำ พ.ร.บ. ไว้เป็นขั้นพื้นฐานอยู่แล้วเพื่อให้มั่นใจว่าจะมีการคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ประสบภัยจากรถที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้อย่างทันท่วงที และเป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาล/สถานพยาบาลที่รับผู้ประสบภัยเข้าดูแลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลด้วยเช่นกัน ซึ่งในแง่กฎหมายจะเป็นการแบ่งเบาภาระค่าเสียหาย และบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยและครอบครัวได้นั่นเอง
แล้วประกันรถ ที่รู้จักกันในชื่อ ประกันชั้น 1, 2, 3, 2+ หรือ 3+ ที่เห็นมีการโฆษณา หรือที่มีการพูดถึงกันล่ะ คืออะไร ประกันเหล่านี้ จะอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า ประกันภาคสมัครใจ ซึ่งจะเป็นการซื้อประกันเพิ่มเติมจากความคุ้มครองที่ได้รับจาก พ.ร.บ. ซึ่งในกรณีที่เราเป็นต้นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน พ.ร.บ. จะช่วยคุ้มครองเท่าที่กฎหมายกำหนด แต่ถ้าความเสียหายมีมาก ผู้ที่ทำให้เกิดความเสียหาย จะเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายเอง ซึ่งประกันภาคสมัครใจ จะเข้ามาช่วยรับผิดชอบในกรณีเหล่านี้นั่นเอง ซึ่งในประเทศไทย ประกันภาคสมัครใจ จะแบ่งออกเป็น 5 ประเภท หรือที่เราเรียกกันว่า ประกันชั้น 1, 2, 3, 2+ หรือ 3+ นั่นเอง โดย
  • ประกันชั้น 1 จะให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากที่สุด คือ จะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลในรถ และบุคคลภายนอก รวมถึงความเสียภายที่เกิดขึ้นต่อรถยนต์ที่เอาประกันภัย รวมถึงกรณีเกิดไฟไหม้และการสูญหายด้วย
  • ประกันชั้น 2 จะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลในรถ และบุคคลภายนอก รวมถึงความเสียหายที่เกิดกับรถยนต์จากการเกิดไฟไหม้และการสูญหาย
  • ประกันชั้น 3 จะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอก และความเสียหายที่เกิดกับรถยนต์จากการเกิดไฟไหม้และการสูญหาย
  • ประกันชั้น 2+ จะรับผิดชอบต่อความเสียหายในกรณีเดียวกับประกันชั้น 2 แต่เพิ่มความรับผิดต่อในส่วนของความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย แต่เฉพาะกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และจำเป็นต้องมีคู่กรณีด้วย
  • ประกันชั้น 3+ จะรับผิดชอบต่อความเสียหายในกรณีเดียวกับประกันชั้น 3 แต่คุ้มครองรถยนต์คันเอาประกันภัยในวงเงินจำกัด และเฉพาะกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น
ซึ่งจะเห็นได้ว่า เราสามารถเลือกที่จะทำประกันภาคสมัครใจได้หลากหลายรูปแบบ เพราะค่าเอาประกันภัยของประกันภาคสมัครใจ จะมีค่าบริการที่หลากหลาย และแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทของความคุ้มครองที่เราต้องการนั่นเอง ซึ่งการเลือกประกันภัยรถยนต์ของแต่ละบุคคลเอง ไม่ได้มีสูตรที่แน่นอนตายตัวว่า แบบใดจะดีที่สุด ซึ่งถ้ากำลังมองหาประกันภาคสมัครใจร่วมกับการซื้อ พ.ร.บ. อาจจะเลือกซื้อจากบริษัทประกันภัยเดียวกันไปเลย เพื่อให้การดำเนินการต่าง ๆ การยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้องสามารถทำได้พร้อมกัน เพื่อความสะดวกและความต่อเนื่องในการดำเนินการนั่นเอง แต่จริง ๆ แล้วไม่ได้เป็นการบังคับทางกฎหมายนะครับว่า เราจะต้องซื้อจากบริษัทเดียวกัน เพียงแต่ในเรื่องการดำเนินการ กรณีที่เราเป็นฝ่ายผิดและคู่กรณีที่ได้รับบาดเจ็บต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นน่าจะทำได้สะดวกกว่ากันนั่นเอง แต่ไม่ว่าเราจะเลือกทำประกันภัยรถยนต์จากบริษัทใดก็ตาม ทั้งการทำประกันภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และการทำประกันภาคสมัครใจ สิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจ คือ สิทธิประโยชน์และหน้าที่ของเราตามสัญญาประกันภัยนั่นเอง
พ.ร.บ. รถยนต์คืออะไร